โครงการ

โครงการศัลยกรรม ฯ

โครงการศัลยกรรมตกแต่งแก้ไขความพิการแต่กำเนิด และความพิการจากอุบัติเหตุไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

หลักการและเหตุผล
ความพิการแต่กำเนิดที่พบบ่อยบริเวณใบหน้าคือภาวะพิการปากแหว่งเพดานโหว่พบมากที่สุดประมาณ 1 ต่อ 650 ของทารกแรกเกิด ความพิการนี้ทำให้มีปัญหาในการดูดนม การรับประทานอาหารทำให้สำลักอาหารได้ง่าย อาจเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม หรือหูน้ำหนวก เมื่อโตขึ้นเริ่มพูดได้จะมีการออกเสียงผิดปกติ พูดไม่ชัดเสียงขึ้นจมูก ทำให้เด็กมีปัญหาทั้งด้านกายภาพและในด้านจิตใจ อยู่ในสังคมด้วยความไม่มั่นใจ ความพิการอื่นๆ เช่น ความพิการของมือแต่กำเนิด จะส่งผลต่อการทำงานของมือผิดปกติ อุบัติเหตุต่าง ๆ รวมทั้งไฟไหม้น้ำร้อนลวกจะก่อให้เกิดความพิการต่อมือแขนขาใบหน้า ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน การหยิบจับเขียนหนังสือเป็นไปได้ลำบากและยังเสียบุคลิกภาพ เนื่องด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมาคมศัลยแพทย์ตกแต่งเสริมสวยแห่งประเทศไทย ร่วมกับมูลนิธิ พอ.สว. ได้ร่วมกันจัดทำ “โครงการศัลยกรรมตกแต่งแก้ไขความพิการแต่กำเนิดและความพิการจากอุบัติเหตุไฟไหม้ น้ำร้อนลวก” เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น สามารถทำงานหาเลี้ยงชีพได้และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
2. เพื่อให้ผู้ป่วยปากแหว่ง – เพดานโหว่ ที่ยังไม่ได้ผ่าตัดได้รับการผ่าตัดรักษา และผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแล้ว ได้ผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติที่ยังเหลืออยู่
3. เพื่อผ่าตัดแก้ไขเด็กที่มีมือพิการตั้งแต่กำเนิด
4. เพื่อผ่าตัดแก้ไขแผลเป็นจากการหดรั้งทั้งจากอุบัติเหตุทั่วไปและอุบัติเหตุจากไฟไหม้น้ำร้อนลวก
5. ส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยให้ดีขึ้น
6. เป็นการสนับสนุนงานด้านวิชาการ และการบริการในโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค
7. พัฒนาแนวทางการรักษา และการติดตามหลังการรักษา

เป้าหมาย
ผ่าตัดผู้ป่วยปากแหว่ง เพดานโหว่ และตกแต่งแก้ไขความพิการแต่กำเนิด แผลเป็นหดรั้งทั้งจากอุบัติเหตุทั่วไปและอุบัติเหตุไฟไหม้น้ำร้อนลวก อย่างน้อย 200 ราย ใน 63 จังหวัด พอ.สว.

ระยะเวลาดำเนินการ(ปีงบประมาณ 2564 ดังนี้)

ครั้งที่1     ระหว่างวันที่ 4-6 พฤศจิกายน 2563     ณ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์

ครั้งที่2     ระหว่างวันที่ 27-29 มกราคม 2564     ณ  โรงพยาบาลอุดรธานี  จังหวัดอุดรธานี

ครั้งที่3     ระหว่างวันที่ 26-28 พฤษภาคม 2564  ณ  โรงพยาบาลตรัง   จังหวัดตรัง

ครั้งที่4     ระหว่างวันที่  28-30 กรกฎาคม 2564  ณ โรงพยาบาลราชบุรี   จังหวัดราชบุรี

ครั้งที่่5     ระหว่างวันที่  15-17 กันยายน 2564   ณ โรงพยาบาลลำพูน   จังหวัดลำพูน

  โดยผู้ที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการสามารถแจ้งรายชื่อที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ งานรักษาเฉพาะโรค สำนักงานมูลนิธิ พอ.สว.โทร 02-2265666 ต่อ 2804 หรือ 092-2522531

ดูรายละเอียด

กิจกรรมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เดินเท้า พอ.สว.

หน่วยแพทย์เคลื่อนที่เดินเท้า พอ.สว. หรือเพทย์เดินเท้าได้ปฏิบัติงานครั้งแรกที่ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ในการปฏิบัติงานแต่ละครั้งจะประกอบไปด้วย อาสาสมัครที่เป็นแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล อาสาสมัครสมทบ และเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขของแต่ละท้องที่เป็นหลัก

ในพื้นที่มีขาวไทยภูเขาหลายเผ่าอาศัยอยู่ถึงแม้จะมีถนนเข้าไปถึงหลายพื้นที่แล้วแต่ยังเป็นดินโคลน และบางหมู่บ้านไม่มีถนนมีเฉพาะ ทางเดินเท้าของชาวบ้านทุกฤดูกาลโดยเฉพาะฤดูฝนยานพาหนะจะเข้าไปไม่ถึงประชาชนจะขาดการติดต่อจากภายนอกประชาชนมีการ จึงเกิดหน่วยแพทย์เดินเท้าขึ้นโดยได้รับการสนับสนุน อาสาสมัครจากส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และอาสาสมัครในพื้นที่ร่วมกันปฏิบัติงาน รักษาผู้ป่วยที่ไม่สะดวกเดินทางมารักษาที่โรงพยาบาลโดยเฉพาะฤดูฝน

ดูรายละเอียด

กิจกรรมรณรงค์ผ่าตัดต้อกระจก

ในปี พ.ศ.2538 มูลนิธิเเพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จัดให้มีโครงการรณรงค์ผ่าตัดต้อกระจก ให้กับผู้สูงอายุที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารห่างไกลคมนาคม โครงการนี้ดำเนินการร่วมกับราชวิทยาลัยจักษุเเพทย์แห่งประเทศไทย มีจุดประสงค์ที่จะผ่าตัดตาคนที่ตาบอดจากต้อกระจก ที่เรียกต้อกระจกตกค้าง มูลนิธิ พอ.สว. เล็งเห็นถึงประโยชน์ของโครง การที่เป็นการช่วยเหลือประชาชนที่ยากไร้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด และยังมีการแบ่งปันความรู้เทคโนโลยีประสบการณ์ทาง การแพทย์แก่บุคลากรจักษุแพทย์ และพยาบาลเวชปฏิบัติทางตา รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลด้วยจึงทำให้โครงการนี้ได้มี ส่วนในการพัฒนาบุคลากรปลูกจิตสำนึกในการเป็นผู้เสียสละและเป็นผู้ให้ด้วยจิตอาสาในการให้การบริบาลและการพยาบาล ประชาชนจึงได้บรรจุโครงการนี้เป็นอีกหนึ่งภาระกิจหลักของมูลนิธิ พอ.สว.

ดูรายละเอียด